ขนมไทย
วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560
วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ขนมไทยในพิธีกรรม
ขนมที่นิยมใช้ทำบุญเลี้ยงพระในงานมงคลหรือพิธีกรรมที่ขาดไม่ได้ ได้แก่
ขนมตระกูลทอง เช่น ทองเอก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง
ขนมมงคลนาม เช่น ขนมถ้วยฟู ขนมชั้น ขนมจ่ามงกุฎ ขนมเสน่ห์จันทร์
ขนมไทยในพิธีกรรมต่างๆ มีดั้งนี้
พิธีแต่งงาน นอกจากจะมีขนมมงคลนามที่ใช้ในงานมงคลแล้ว ที่ต้องมีคือ
ขนมกง
รูปร่างเป็นล้อรถไม่มีรอยต่อ มีความเชื่อว่าจะทำให้ความรักของคู่บ่าวสาวจีรัง
ไม่มีวันแยกจากกัน
ขนมกง

ขนมโพรงแสม มีรูปร่างยาวใหญ่คล้ายกับเสาเรือน ทำให้อยู่กันยืนยาว
ขนมโพรงแสม
ขนมสามเกลอ มีลักษณะเป็นสามก้อนติดกัน ให้คู่บ่าวสาวเสี่ยงทายว่าจะอยู่ด้วยกันได้นานหรือไม่ หากขนมแยกจากกันก็ถือว่าไม่ใช่เนื้อคู่ที่แท้จริง
ขนมสามเกลอ
นอกจากนี้ยังมี ขนมใส่ไส้ ขนมฝักบัว ขนมบ้าบิ่น ขนมนมสาว อีกด้วย
ขนมใส่ไส้
ขนมฝักบัว
ขนมบ้าบิ่น
พิธีบวงสรวงสังเวยเทพยดาและพระภูมิ
นิยมใช้ขนมที่เป็นมงคลนามแล้ว ก็มีขนมตามความเชื่อ ในลัทธิพราหมณ์ เช่น ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ขนมเล็บมือนาง ขนมคันหลาว ขนมดอกจอก ขนมทองหยิบ ขนมถั่วแปบ ขนมหูช้าง ข้าวเหนียวแดง ขนมประเภทบวชต่างๆ
ขนมต้มแดง
ขนมต้มขาว
ขนมเล็บมือนาง
ขนมดอกจอก
ข้าวเหนียวแดง
วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ขนมไทยในงานประเพณี
ที่นิยมใช้ในงานประเพณีต่างๆ มีดังนี้
เทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย จะใช้ขนมที่เป็นมงคลนาม จัดเป็นขนมชั้นดีใช้ในการทำบุญเลี้ยงพระ แล้วก็เตรียมขนมสำหรับรับรองแขกเหรื่อ ที่มารดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ สมัยโบราณจะกวนกะละแมแต่ปัจจุบันอาจใช้ขนมอื่นๆ ที่อร่อยและสวยงาม เช่น ขนมชั้น ขนมลูกชุบ ตามความสะดวก
ขนมลูกชุบ
เทศกาลเข้าพรรษา ขนมไทยที่ใช้ได้แก่ ข้าวต้มมัดและขนมแกงบวดต่างๆ เช่น ฟักทองแกงบวด กล้วยบวชชี เป็นต้น
ฟักทองแกงบวด
เทศกาลออกพรรษา มีพิธีทำบุญตักบาตรเทโว ขนมที่ใช้ในการทำบุญ คือข้าวต้มลูกโยน
ข้าวต้มลูกโยน
เทศกาลสารทไทย เป็นงานประเพณีที่ชาวไทยทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติมิตรผู้ล่วงลับ จะมีขนมไทยประจำภาค
ภาคเหนือ : กล้วยตาก เพราะมีกล้วยมาก นอกจากตากก็มีกวนและของแช่อิ่ม
กล้วยตาก
ภาคกลาง : กระยาสารท เคียงคู่กับกล้วยไข่
กระยาสราท
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เรียกว่า งานบุญข้าวจี่ ขนมที่ใช้ได้แก่ ขนมเทียน ข้าวจี่
ขนมเทียน
ภาคใต้ : เรียกว่างานบุญเดือนสิบ ขนมที่ใช้ได้แก่
ขนมลา ขนมกง ขนมพอง
ขนมลา
ขอบคุณที่มา
: http://www.lib.ru.ac.th/journal/kanom.html
วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ขนมไทยในแต่ละภาค
ในวันนี้เราจะมาพูดถึงขนมไทยในแต่ละภาคกันค่ะ ว่าจะมีขนมอะไรที่น่าสนใจ น่าทานกันขนาดไหน😃
ขนมไทยภาคเหนือ
ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์
ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้ม
ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงเม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง
น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี
มีลักษณะคล้ายถั่วตัด
ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงเม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง
น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี
มีลักษณะคล้ายถั่วตัด
ขนมเทียน
ข้าวต้มหัวหงอก
ขนมเปงเม้ง
ขนมส่วยทะมิน
ขนมไทยภาคอีสาน
เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ
ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน
โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์
ข้าวยาคู
ขนมไทยภาคอีสาน
เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู
เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู
ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด
ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง)
ข้าวจี่
ข้าวปาด
ข้าวพอง
ขนมไทยภาคกลาง
ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูน และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ขนมกลีบลำดวน ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ ขนมตาล ขนมกล้วย ขนมเผือก เป็นต้น
ข้าวตัง
นางเล็ด
ขนมตาล
ขนมกล้วย
ขนมเผือก
ขนมไทยภาคใต้
ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น
ตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่ ขนมหน้าไข่ ขนมฆีมันไม้ ขนมจู้จุน ขนมคอเป็ด ขนมคนที ขนมกอแหละ ขนมก้านบัว ข้าวเหนียวเชงา ข้าวเหนียวเสือเกลือก ขี้หมาพองเช ขนมดาดา ขนมกรุบ ขนมก้องถึ่ง
ข้าวต้มใบกะพ้อ
ขนมบ้า
ขนมไข่ปลา
วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
วิธีการทำขนมไทยมงคล
วันนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการทำขนมไทยมงคลทั้ง 9 ชนิดกันนะคะ ว่าจะมีวิธีการทำที่พิถีพิถันขนาดไหนถึงจะทำให้ขนมแต่ละชนิดออกมาน่ากิน และมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม 😋😋
เริ่มกันเลย Let's go!👉
ขนมทองหยิบ
ขนมทองหยอด
ขนมฝอยทอง
ขนมชั้น
ขนมเม็ดขนุน
ขนมทองเอก
ขนมจ่ามงกุฎ
ขนมถ้วยฟู
ขนมเสน่ห์จันทร์
เป็นยังไงกันบ้างคะ วิธีการทำขนมแต่ละชนิดไม่ยากกันเลยใช่ไหม😜
วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ขนมไทยมงคล 9 ชนิด
ขนมไทยมงคล 9 ชนิด ต่างก็ถูกเลือกใช้จากชื่อและความหมายที่เป็นสิริมงคล เรามารู้จักกับขนมชนิดต่างๆ และความหมายดีๆ ที่แฝงอยู่กันค่ะ 😄😄
เริ่มจากชนิดแรกกันเลย ขนมทองหยิบ มีลักษณะสวยงามคล้ายดอกไม้สีทอง เชื่อว่าหากนำขนมทองหยิบไปใช้ในพิธีมงคลต่างๆ หรือเป็นของขวัญให้ผู้อื่น จะทำให้มั่งคั่งร่ำรวย หยิบจับงานสิ่งใดก็จะร่ำรวย มีเงินมีทอง สมชื่อ “ทองหยิบ”
ต่อกันเลยกับขนมทองหยอด ใช้ในงานพิธีมงคลต่างๆ หรือมอบเป็นของขวัญในโอกาสสำคัญๆ แทนคำอวยพรให้ร่ำรวย มีเงินมีทองใช้อย่างไม่รู้หมด
ขนมฝอยทอง มีลักษณะเป็นเส้นยาวๆ นิยมใช้ในงานมงคลสมรส
เปรียบว่าคู่บ่าวสาวจะครองคู่รักกันยืนยาวเหมือนกับเส้นฝอยทอง
ขนมชั้น
ขนมไทยที่ต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น เพราะเชื่อว่าเลข 9 เป็นเลขที่หมายถึงความเจริญก้าวหน้า
นิยมมอบแสดงความยินดีที่ได้เลื่อนขั้น เลื่อนยศให้สูงยิ่งๆขึ้นไป
ขนมเม็ดขนุน
มีลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุนสีเหลืองทอง ไส้ข้างในทำด้วยถั่วเขียวบด
เชื่อว่าชื่อขนมเป็นสิริมงคล ช่วยให้ผู้คนสนับสนุน หนุนในหน้าที่การงาน การดำเนินชีวิต
ขนมทองเอก มีลักษณะที่สง่างาม
มีทองคำเปลวติดไว้ด้านบนของขนม คำว่า “เอก” หมายถึง การเป็นหนึ่ง จึงนิยมใช้ในงานมงคลสำคัญต่างๆ หรือมอบเป็นของขวัญฉลองการเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง
เสมือนเป็นคำอวยพร
ขนมจ่ามงกุฏ นิยมทำขนมกันในงานพิธีสำคัญๆ จริง คำว่า “จ่ามงกุฎ” หมายถึง การเป็นหัวหน้าสูงสุด
แสดงถึงการมีเกียรติยศสูงส่ง นิยมใช้เป็นของขวัญในการเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง
ถือเป็นการแสดงความยินดีและอวยพรให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานยิ่งๆขึ้นไป
ขนมถ้วยฟู
ลักษณะเด่นของขนมคือจะต้องมีกลิ่นหอมจากการอบดอกไม้สด ชื่อของขนมให้ความหมายที่เป็นสิริมงคล
หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองเฟื่องฟู นิยมใช้กันในงานพิธีมงคลต่างๆ
ท้ายสุดคือขนมเสน่ห์จันทร์
คนโบราณนำเสน่ห์ของของผลจันทร์ที่สุกเหลืองเปล่งปลั่ง
มีกลิ่นหอมและสวยงามชวนหลงใหล มาประยุกต์ให้เป็นขนมเสน่ห์จันทร์ โดยเชื่อว่าคำว่าเสน่ห์จันทร์เป็นสิริมงคล
จะทำให้มีเสน่ห์คนรักคนหลงดังผลจันทร์ นิยมนำมาใช้ในงานมงคลสมรส
และให้เป็นของขวัญแทนความรัก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)